วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2559

อันดับที่ 4



Blade Runner (1982)




หนังเรื่องนี้เป็นมุมมองในอนาคต ประชากรส่วนใหญ่อพยพ ไปอยู่ off world ลอสแองเจงลิส ในเวลานั้น เศรษฐกิจส่วนใหญ่อยู่ในมือคนญี่ปุ่น สังเกตภาษาหลัก แทบจะกลายเป็นภาษาญี่ปุ่น การแต่งตัว โปสเตอร์ อาหารการกิน เนื้อเรื่องพูดถึงกลุ่มหุ่นยนต์ที่สามารถมีความรู้สึกเหมือนมนุษย์มากๆ คือ กลุ่ม Replicant หุ่นยนต์เหล่านี้เหมือนคนจนดูไม่ออก ซึ่งการจะแยกแยะออกมาได้อยู่ที่ดวงตา จะมีอาการตอบรับอย่างไรเมื่อมีการถามคำถาม ประมาณ 20-30 คำถาม ดังนั้นความรู้สึกของหุ่นยนต์นี้สามารถ รับความรู้สึกของมนุษย์ได้ ทั้งความรัก การแสดงอาการเสียใจ (มีน้ำตา) อาการโกธรแค้น และสามารถมีเพศสัมพันธ์กับมนุษย์ได้
  
กลุ่มหุ่นยนต์นี้ ถูกสร้างให้เป็น Slave ของเจ้านาย และนำไปใช้ในเขต Off world ถ้าหุ่นยนต์ตัวไหน หนีออกจากเจ้านาย ก็จะถูกตามล่าโดย อาจจะเป็นตำรวจหรือมือสังหาร ที่ถูกเรียกว่า Blade Runner Harrison Ford เล่นเป็น อดีตตำรวจที่มีฝีมือในการล่า หุ่นยนต์ Replicant ซึ่งได้เลิกการล่าหุ่นยนต์เหล่านี้แล้ว แต่ครั้งนี้เขาถูกตามตัวมาล่า หุ่นยนต์ 4 ตัวด้วยกัน ระหว่างการตามล่า เขากลับตกหลุมรักหุ่นยนต์สาว (sean young) ซึ่งเป็นผู้ช่วยสาว ขององค์การที่ผลิตหุ่นยนต์นี้

ถ้าอ่านเนื้อเรื่องมาเท่านี้ ผมเชื่อว่าหนังเรื่องนี้ อาจจะไม่ต่างกับหนังแอ๊คชั่น หรือ หนังวิทยาศาตร์โดยทั่วไป แต่สิ่งที่ทำให้หนังเรื่องนี้ได้รับการยกย่องเป็น 1 ใน 100 หรือ 50 หนังยอดเยี่ยมตลอดกาล ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายๆอย่างดังต่อไปนี้

การดำเนินเรื่องเป็นลักษณะ Film Noir นี่ไม่ใช่หนังในลักษณะยิงกัน หรือ ในลักษณะหนังของ Scott ในระยะหลัง แต่การดำเนินเรื่อง เป็นลักษณะแสดงให้เห็นภาวะจิตใจของแต่ละตัวละครในลักษณะหม่นหมอง ทั้งเรื่อง (ลักษณะเดียวกับ Batman Begins แต่หม่นมากกว่าอีก) ลักษณะหนังดูเหมือนเป็นการสืบสวน สอบสวนแต่เพียงแต่ย้ายหนังไปสู่อนาคต



จินตนาการ ของผู้เขียนเรื่องนี้ (สร้างจาก หนังสือเรื่อง Do Android dream of electric sheep) ที่มีหลายแง่มุมที่เกิดขึ้นจริง คำสั่งให้ คอมพิวเตอร์ทำงานโดยการพูด (ต้องเข้าใจว่า ปี 1982 นั้น เครื่องคอมไม่ใช่Pc ในปัจจุบัน) คัตเอาท์ขนาดใหญ่ที่มีการแสดงภาพเคลื่อนไหวได้, การใช้โทรศัพท์แบบเห็นหน้า, ลิฟท์แบบ Digital และอื่นๆ การทำนายถึงสภาพสิ่งแวดล้อมอันเลวร้าย จนคนต้องอพยพไปอยู่ต่างโลก โดยมีสภาวะ Acid rain, ลอสแองเจลิส ที่เป็นไปด้วยผู้คนแออัด จราจรติดขัด (นี่มันกรุงเทพชัดๆ)

เนื้อเรื่อง ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบว่า หุ่นยนต์ เป็น Slave แต่ในแง่ความเป็นจริง หนังพยายามสื่อ ถึงบุคคลที่ด้อยโอกาสกว่าในสังคมและ ต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของคนที่มีอำนาจกว่า ซึ่งเป็นความเจ็บปวด และการขาดอิสะ ทั้งความคิด และเสรีภาพ การที่ผู้มีอำนาจกว่าสามารถทำอะไรก็ได้ ทั้งการสั่ง และการมีเพศสัมพันธ์ (อันนี้สามารถสื่อได้จากในฉากสุดท้ายที่หุ่นยนต์บอกพระเอก)

คุณสามารถสัมผัสหนังเรื่องนี้ได้อย่างกลมกลืน ในการดำเนินเรื่อง ทางองค์ประกอบทางศิลป์ (ถูกเสนอชื่อชิง 2 รางวัลจากกำกับฝ่ายศิลป และ Visual Effect) ดนตรีโดย Vangelic ซึ่งผมชอบมากโดยฌฉพาะตอน End credit การถ่ายภาพ และ การแสดงอันยอดเยี่ยม เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย หนังเรื่องนี้เมื่อฉายครั้งแรก ดูเหมือนหนังจะมาก่อนเวลา เพราะคนคาดว่าจะได้เห็นความตื่นเต้น เต็มๆเหมือน Alien หรือ Starwars แต่หนังดำเนินเรืองไปคนละแนว รวมถึง ในปีเดียวกัน ET ถูกนำออกฉาย ซึ่งเป็นคนละฝั่งกับหนังเรืองนี้ จึงไม่ประสพความสำเร็จ ทั้งในด้านรางวัลและรายได้ และอีกประการหนึ่ง การทำให้หนังต้องเปลี่ยนตอนจบใหม่ให้สมหวังตามนายทุนเจ้าของหนัง


แต่เมื่อเวลาผ่านไป หนังเรื่องนี้ได้รับการกล่าวขวัญ และได้รับการยกย่องมากขึ้น จนกลายเป็นหนังยอดเยี่ยมสำหรับหลายๆท่าน และเป็นต้นฉบับให้กับหนังหลายๆเรื่อง เช่น The Fifth Elements และ Scott ก้เริ่มมีpower มากขึ้นในการสามารถ ตัดต่อหนังให้เป็นในแบบที่เขาต้องการ โดยครั้งแรกในปี1997 และครั้งสุดท้ายคือในฉบับที่ผมได้ดูคือ ปี 2007 ซึ่งถ้าไม่บอกว่านี่คือหนังปี1982 ผมเชื่อว่า หลายท่านอาจจะคิดว่า นี่คือหนังใหม่ เพราะไม่มีร่องรอยความเก่าให้เห็นเลย และนี่คือ ผลงาน MASTERPIECE ของ RIDLEY SCOTT อย่างแท้จริง




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น